วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

การดูแลความสะอาดของชิห์สุ

การดูแลความสะอาดของชิห์สุ

ที่อยู่ที่นอน


สุนัขควรมีที่หลับนอนของมันเองที่เป็นที่เป็นทางและเป็นสัดส่วน จะเลี้ยงสุนัขไว้ในบ้านหรือนอกบ้านก็แล้วแต่ความพร้อมของเจ้าของและสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ส่วนใหญ่หากมันยังเล็กก็นิยมเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อสะดวกในการดูแล และทำให้มันสนิทสนมกับคนในบ้านได้ง่าย แต่ต้องคอยดุแลเรื่องการขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทาง จัดที่นอนสำหรับลูกสุนัขไว้ในลังไม้หรือตะกร้าตั้งไว้มุมห้องเงียบ ๆ สักมุมหนึ่ง หรืออาจใช้เพียงผ้าผวยเก่า ๆ หรือเศษผ้านุ่ม ๆ หลายชั้นทำเป็นที่นอนขนาดเล็กใหญ่ ก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
หากมีอาณาบริเวณบ้านมากพอ หรือต้องการเลี้ยงไว้นอกบ้าน ซึ่งมันก็ต้องการที่คุ้มแดดคุ้มฝน หรือหลบร้อนตอนกลางวัน การสร้างคอกหรือกรงเลี้ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็น ขนาดกรงควรกว้างพอให้มันเบียดตัวหรือกลับตัวได้ง่ายและสูงพอที่มันจะยืนได้ บริเวณที่ตั้งกรงหรือคอกเลือกเอาที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้ดีไม่อับชื้น และควรติดมุ้งลวดเพื่อกันยุงและแมลงให้มันด้วย

การอาบน้ำ

ตามปกติไม่นิยมอาบน้ำให้ลูกสุนัขบ่อยเกินไป เพราะจำทำให้น้ำมันที่เคลือบเส้นขนหมดไป ทำให้ผิวหนังและเส้นขนแห้งไม่เป็นมัน เกิดอาการคัน สุนัขจะกัดหรือเกาให้เป็นแผล นอกจากนี้สุนัขยังแพ้ต่อการเป็นโรคทางระบบหายใจ โดยเฉพาะ จะเป็นโรคปอดบวมได้ง่าย เพราะฉะนั้นหาไม่จำเป็นจริง ๆ แล้วก็ไม่ควรอาบน้ำให้สุนัข
สำรับลุกสุนัขอาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดให้แห้งตามตรงที่ตัวสกปรก หรือใช้แปรงและการหวีขนบ่อย ๆ ก็จะรักษาความสะอาดได้ดีโดยไม่ต้องอาบน้ำ เมื่อสุนัขโตขึ้นอาจจะอาบน้ำให้ด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นให้เพียงอาทิตย์ละครั้งก็พอ หรือเมื่อเห็นว่ามันสกปรกมาก มีกลิ่นเหม็นแล้ว การอาบน้ำควรอาบให้ในเวลาที่มีแดดออก อากาศไม่หนาวมาก ใช้สบู่หรือแชมพูอย่างอ่อน ถูให้ทั่วตัวและหัว ระวังไม่ให้ฟองสบู่เข้าตาและน้ำเข้าหู จากนั้นต้องล้างสบู่ออกให้หมด เพราะถ้าล้างออกไม่หมดจะทำให้เกิดการคันจนสุนัขเกาเป็นแผล เสร็จแล้วจึงเช็ดตัวสุนัขให้แห้ง


การกำจัดและป้องกันเห็บ

เห็บ หมัดและแมลง เป็นพาหะนำโรคบางชนิดมาสู่สุนัข ถึงแม้ไม่เกิดโรคก็จะทำความรำคาญให้สุนัขมาก เห็บหรือหมัดที่มีในสุนัขส่วนมากมักเกิดจากเจ้าของที่ไม่ดุแลสุนัขเท่าที่ควร
หมัด หรือเห็บมักเกาะกินเลือดอยู่ตามบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ ของสุนัข เช่น รอบคอ ริมฝีปาก บริเวณหลังเลยหางขึ้นไป ตามซอกเล็บ และตามบริเวณก้นการกำจัดเห็บ หมัด อาจใช้น้ำมันสนหยดลงไปให้ถูกตัวเล็กน้อย จะทำให้มันหลุดออกมา หากดึงหมัดหรือเห็บขณะที่มันกำลังกัดติดอยู่กับบริเวณผิวหนังแรง ๆ อาจทำให้ผิวสุนัขเป็นแผล การป้องกันกำจัดเห็บหรือหมัดอาจใช้วิธีรักษาความสะอาดตัวสุนัข ใช้อุปกรณ์ในการกำจัดเห็บ เช่น ยกกำจัดเห็บ แป้งกำจัดเห็บ แชมพูกำจัดเห็บ ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์หรือทำด้วยความระมัดระวัง ควรทำการจับหมัดหรือเห็บทุก ๆ อาทิตย์ และทำความสะอาดที่นอนสุนัขด้วย แต่การฆ่ากำจัดเห็บเฉพาะที่ตัวสุนัข ไม่สามารถแกปัญหาได้ตลอด เพราะเห็บหรือหมัดเล่านี้จะอาศัยอยู่บริเวณที่อยู่ของสุนัข ดังนั้นควรใช้ยาฆ่าเห็บผสมกับน้ำผสมกับน้ำราดตามบริเวณที่สุนัขอาศัยอยู่ด้วย การกำจัดสิ่งเหล่านี้จะต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะประสบความสำเร็จ


แปรงขน สางขน

หมาขนยาวทั้งหลายจำต้องได้รับการแปรงขนและสางขนอย่างน้อยวันละครั้ง เพื่อป้องกันการพันติดและเกาะกันเป็นก้อน สิ่งเหล่านี้เป็นบ่อเกิดของโรคผิวหนังอักเสบเพราะเป็นแหล่งหมักหมมสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ รวมถึงเชื้อโรคมากมาย

ส่วนหมาขนสั้นก็จำเป็นต้องดูแลแปรงขน เพียงแต่น้อยกว่าพวกขนยาวหน่อย อาจแปรงขนอาทิตย์ละครั้งก็พอถ้าไม่มีความสกปรกมาก
เครื่องมือที่ใช้ในการแปรงขนและสางขนที่สำคัญคือ แปรง ซึ่งมีหลายชนิด ซี่ถี่ห่าง ต่าง ๆ กัน ความแข็งนุ่มของแปรง ความยาวของซึ่งแปรง สิ่งเหล่านี้ทำมาเพื่อให้เหมาะกับการขนหมาชนิดต่าง ๆ เช่น แปรงซี่หยาบ ขนแข็งใช้กับหมาจนยาวหรือแปรงซี่หยาบห่างมาก แข็งเป็นพิเศษ เหมาะกับการสางขนที่ติดกันนุงนัง เป็นต้น


นอกจากนี้ควรเตรียมหากรรไกรไว้ตัดขนที่พันกันยุ่งอีกด้วย

ตัดเล็บ

หมาที่เลี้ยงปล่อยวิ่งเล่นตามสนามหญ้าหรือพื้นซีเมนต์ทั่วไปแล้วเล็บจะมีความสึกหรอเองโดยการเสียดสีกับพื้นมักไม่ต้องมาตัดให้เสียเวลา อย่างมากก็เล็ม ๆ เป็นบางเล็บให้เสมอกับส่วนที่สึกกว่า ส่วนหมาที่เลี้ยงอยู่ภายในบ้านวิ่งบนพรมหรือพื้นหินขัดตลอดเวลาเล็บจึงยาว เมื่อตะกุยตะกายเจ้าของ เบาะ หรือประตูทำให้เกิดรอยขีดข่วนอย่างเห็นได้ชัด จำเป็นอยู่ที่จะต้องหมั่นตรวจดูแลและตัดอย่างสม่ำเสมอ การติดเล็บหมาควรทำหลังอาบน้ำเพราะเล็บที่เปียกน้ำมาจะอ่อน ตัดง่าย ควรใช้กรรไกรที่ทำมาเพื่อตัดเล็บหมาโดยเฉพาะซึ่งจะง่ายและปลอดภัย
เทคนิคสำคัญคือ ต้องคอยสังเกตดูส่วนที่มีเลือดมาเลี้ยงในเล็บจะมองเห็นเป็นสีชมพูแดง
**ระวังอย่างไปตัดโดนโคนเล็บ

เช็ดหู ทำความสะอาดหู

หูหมาก็เช่นเดียวกับหูคน มีการสร้างขี้หูออกมาตลอดเวลาเพื่อเป็นการขับสิ่งสกปรกและแปลกปลอมที่อาจเข้าหู หมาบางตัวมีขี้หูมาก แต่บางตัวก็มีน้อย แตกต่างกันไป เจ้าของต้องหมั่นตรวจดูด้วยสายตาว่ามีคราบไคลของขี้หูมากน้อยแค่ไหน มีหนองออกมาหรือไม่ ฯลฯ ประกอบกับใช้จมูกช่วยด้วย คือ ดมกลิ่นหาความผิดปกติ เช่นเหม็นมากขึ้นกว่าเก่าหรือไม่

โดยปกติแล้วเจ้าของสามารถใช้สำลีหรือผ้านิ่ม ๆ เช็ดบริเวณหูและรูหูส่วนนอก ได้เป็นประจำ ส่วนใหญ่มักทำกันหลังอาบน้ำซึ่งเป็นเป็นการดีเพราะสามารถตรวจสอบได้ว่ามีน้ำหลงเข้าไปในหูบ้างหรือเปล่า ถ้ามีจะได้เช็ดออกให้แห้งเป็นการป้องกันโรคหูอักเสบได้ด้วย
**ไม่แนะนำให้ใช้น้ำยาหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้าไปล้างหูนะครับ


เช็ดตา ล้างตา

หมาปกติสมบูรณ์ไม่ควรจะมีขี้ตาแฉะหรือเกรอะกรังรวมทั้งน้ำตาไหลเป็นคราบอยู่เสมอ เมื่อเจ้าของหมาพบเข้า นั่นแหละคือต้องมีอะไรผิดปกติแล้ว หากยังไม่มีเวลาไปหาหมอก็อาจทำความสะอาจดูแลรักษาไปพลางก่อน ก่อนโดยการใช้น้ำยาล้างตาหลดลงไปบนผิวกระจากตา 4-5 หยด เป็นระยะ ๆ เพื่อให้น้ำยาล้างตาชะเอาสิ่งสกปรกรวมถึงขี้ตาด้วย จากนั้นใช้กระดาษทิชชูซับรอบ ๆ ภายนอกซับให้แห้ง

กรณีที่มีน้ำตาไหลเป็นคราบอยู่เป็นเวลาเนิ่นนานมากแล้ว คราบน้ำตาไหลเหล่านั้นมีคุณสมบัติเกาะติดขนและผิวหนังได้ดีมาก ทำให้เป็นรอบคราบน้ำตาติดแน่นอยู่ที่ 2 ข้างหัวตาย้อยลงมาถึงมุมปาก สิ่งที่จะทำได้โดยการหมั่นเช็ดถูให้บ่อยครั้งขึ้นทุก ๆ วัน ขนที่ติดคราบน้ำตาอยู่จะค่อย ๆ หลุดร่วงไปวันละเล็กวันละน้อย จนขนใหม่ไม่มีคราบน้ำตางอกขึ้นมาแทนที่เต็มหมดแล้วรอยคราบดังกล่าวจะหมดไป
การดูแลสุขภาพ


การทำหมัน

หากไม่ต้องการให้มีลูกสุนัขเกิดเกินจำนวนที่จะเลี้ยงได้ หรือเพื่อเสี่ยงกับการผสมพันธุ์ในครอกได้ลุกสุนัขผิดลักษณะควรทำหมันให้กับสุนัข นอกจากนั้น การทำหมันจะช่วยลดความวุ่นวายเนื่องจากพฤติกรรมของสุนัขในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
การทำหมันสุนัขตัวผู้สามารถกระทำได้เมื่ออายุ 7-8 เดือนขึ้นไป สำหรับตัวเมียควรทำเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป หรือหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรกไปแล้ว 1 เดือน และไม่ควรทำหมันเมื่อสุนัขมีอายุมากแล้ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น