วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

การให้อาหารและนมตามวัย







การให้อาหาร



การให้อาหารลูกสุนัข

หลักปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับการให้อาหารแก่ลูกสุนัข
ลูกสุนัขที่เกิดใหม่ ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในเรื่องของอาหารการกิน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดื่มน้ำนมจากแม่ไปก่อนในช่วงแรก ๆ และเราผู้เป็นเจ้าของควรได้มีโอกาสดูแลเพิ่มเติมเพื่อให้ลูกสุนัขที่เกิดออกมามีชีวิตรอด และสมบูรณ์ปลอดภัย จะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด


ลูกสุนัขที่อยู่ในระหว่างกินนมแม่และหลังหย่านมใหม่ ๆ เป็นช่วงที่ลูกสุนัขต้องการโปรตีนสูงมาก อายุจากแรกเกิดถึง 1 เดือน โปรตีนได้จากน้ำนมแม่ แต่หลังจาก 1 เดือนไปแล้ว แม่สุนัขจะแสดงอาการเกรี้ยวกราดขู่คำราม เมื่อลูกของมันจะกินนม ช่วงนี้เราจะต้องให้ลูกสุนัขได้อาหารจากจานใส่อาหารแทน กล่าวคือ หลังจากที่ลูกสุนัขได้คลอดออกมาสู่โลกภายนอกใหม่ ๆ จะยังไม่ลืมตา แต่จะใช้จมูกนำทางและตะเกียกตะกายหาเต้านมดูดเอง ดังนั้นเพื่อให้ลูกสุนัขได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่เร็วขึ้น ควรช่วยจับลูกสุนัขใส่เต้านมแม่ ต่อไปลูกสุนัขจะหาเต้านมกินได้เอง จากระยะนี้ต่อไปผู้เลี้ยงเพียงแต่คอยระวังอย่าให้แม่สุนัขทับลูก และคอยดูแลให้ลูกสุนัขที่อ่อนแอได้มีโอกาสกินน้ำนมแม่อิ่มเท่านั้น เพราะลูกสุนขที่แข็งแรงกว่ามากจะแย่งเต้านมและดูดกินหมดก่อนเสมอ

สำหรับลูกสุนัขที่มีขนาดครอกใหญ่คือ มีจำนวนมากเกินไป น้ำนมแม่มีไม่พอให้กิน ควรเพิ่มน้ำนมโคให้กินทดแทน เพื่อป้องกันไม่ให้แม่สุนัขมีสุขภาพทรุดโทรมลงมาก โดยให้กินน้ำนมโคทดแทนเมื่อลูกสุนัขมีอายุได้ 3 สัปดาห์ วิธีหัดให้ลูกสุนัขกินน้ำนมนี้ก็โดยใส่น้ำนมไว้ในจานปากกว้างและตื้น ๆ แล้วจับลูกสุนัขให้ปากจุ่มลงในน้ำนม ลูกสุนัขจะเลียและกินได้เอง

แต่ถ้าแม่สุนขไม่มีน้ำนมหรือเต้านมอักเสบเป็นโรคไม่สามารถให้ลูกกินนมได้ อาจนำลูกไปฝากแม่สุนัขตัวอื่นได้

ควรหย่านมเมื่อลูกสุนัขมีอายุได้ประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนขึ้นไปอย่างน้อย การหัดให้ลูกสุนัขหย่านมนี้อาจทำได้โดยการให้อาหารทดแทน ซึ่งผสมได้โดยใช้น้ำนมอุ่น ๆ 1 ถ้วย ผสมกับน้ำหวาน 1 ช้อน และน้ำอุ่น 1 ถ้วย ใส่อาหารผสมนี้ในจานปากกว้างและตื้น ๆ และหัดให้ลูกสุนัขกินโดยจับหัวลูกสุนัขให้ปากจุ่มลงในจานอาหาร ลูกสุนัขจะเลียและเริ่มกินได้เอง ต่อมาก็ให้อาหารอื่น เช่น เนื้อ เนื้อปลา ลูกชิ้น และไข่ เป็นต้น เพิ่มลงไปในอาหารผสมทีละน้อย จนกระทั่งกินอาหารนี้ได้โดยไม่ต้องมีน้ำนม

ในระหว่างการหัดให้หย่านมนี้ควรแยกแม่ออกจากลูกสุนัข และให้ลูกสุนัขกินนมห่างขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับให้อาหารดังกล่าวเสริมทดแทน จนกระทั่งไม่ต้องกินนมแม่อีกต่อไป ครั้นเมื่อมีอายุ ได้ 4 สัปดาห์ก็ให้ทำการถ่ายพยาธิเสีย และเมื่อมีอายุได้ 5 - 6 เดือนขึ้นไปก็ให้กินอาหารประมาณ 3.5 % ของน้ำหนักตัว ควรให้อาหารวันละ 3 เวลา ประมาณ 3 เดือน แล้วจึงค่อยลดลงให้เหลือวันละ 2 เวลา สำหรับสุนัขที่มีอายุ 8 - 9 เดือนเต็ม

เทคนิคการให้นมลูกสุนัข

วิธีการให้นม

ควรป้อนนมโดยใช้ขวดนมแก่ลูกสัตว์กำพร้า ขวดที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัขและลูกแมวควรเป็นขวดขนาด 2 ออนซ์ รูที่หัวนมควรมีขนาดใหญ่พอที่จะให้น้ำนมไหลผ่านไปอย่างช้าๆ เพื่อให้ได้รับอย่างเต็มที่ ลูกสุนัขที่มีอายุมากขึ้น ขนาดตัวโตขึ้นควรเปลี่ยนไปใช้ขวด 4 ออนซ์ ที่หยอดตาหรือหลอดฉีดยาปลายทื่อ จะใช้ได้ดีกรณีที่ลูกสัตว์กำพร้านั้นมีขนาดเล็กมากๆ หรืออ่อนแอเกินกว่าจะให้นมออกจากขวดในขณะที่หัวนมยังอยู่ในปาก ลูกสัตว์เนื่องจากจะทำให้น้ำนมเข้าปอด ซึ่งมีผลให้เกิดปอดบวมหรือตายได้

การให้นมลูกสัตว์กำพร้าโดยทางสายยางจะสะดวกและรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ต้องให้นมลูกสัตว์พร้อมกันทีละหลายตัว แต่อย่างไรก็ตามการวางสายยางไม่ถูกตำแหน่งการใช้ผิดวิธีหรือการให้นมเร็วเกินไปก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือตายได้ ดังนั้นก่อนที่จะทำการให้นมลูกสุนัขหรือลูกแมวกำพร้าโดยใช้สายยางจึงควรฝึกการใช้อย่างถูกวิธีให้มีประสบการณ์ก่อน
การจัดการให้นม


อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ในการให้นมจะต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ ต้องอุ่นนมก่อนาทุกครั้ง การให้นมเย็นๆ แก่ลูกสัตว์กำพร้าอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงจนถึงจุดวิกฤต
ลูกสุนัขกำพร้าในช่วงอายุสัปดาห์แรก (น้ำหนักประมาณ 200-300 กรัม) อาจให้น้ำนมทดแทนประมาณ 10 มิลลิลิตร (2/3-3/4 ช้อนโต๊ะ) สำหรับการให้ครั้งแรก สำหรับลูกแมวที่มีน้ำหนักประมาณ 90-140 กรัม ควรให้น้ำนมทดแทน 5 มิลลิลิตร

สำหรับการให้ครั้งแรก ลูกสัตว์ที่ได้รับนมโดยทางขวดนมจะปฏิเสธหัวนมเมื่ออิ่ม
ผู้มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกสัตว์กำพร้าส่วนใหญ่มักนิยมอุ้มลูกสัตว์ในขณะที่ป้อนนม โดยยกหัวของลูกสัตว์สูงขึ้น และยืดอกเล็กน้อยในขณะที่อุ้มสัตว์ไว้ในอุ้งมือ ควรส่งหัวนมเข้าปากลูกสัตว์แล้วยกขึ้นดึงกลับเล็กน้อย การทำเช่นนี้จะช่วยยกหัวสัตว์ขึ้นและทำให้ลูกสัตว์ดูดนมได้ดีขึ้น ถ้าระหว่างการให้นมมีน้ำนมไหลออกมาทางจมูกควรลดอัตราเร็วของการให้นมลง ถ้ายังไม่หายควรตรวจดูช่องปาก เพื่อดูว่ามีเพดานปากโหว่ (Cleft Palate) หรือไม่


สำหรับการเลี้ยงดูลูกสัตว์กำพร่าในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิต ปริมาณนี้นมทดแทนที่ให้ในแต่ละวัน ไม่ควรเกิน 10% ของน้ำหนักตัวใน 2-3 วันแรก การให้ในครั้งที่ 2 และ3 ควรมีปริมารณน้ำนมเท่ากับที่ให้ในครั้งแรกจากนั้นปรับตามวิจารณญาณและความเหมาะสม ลูกสัตว์ที่มีอายุมากกว่าหรือพันธุ์ใหญ่อาจพิจารณาเพิ่ม ปริมาณน้ำนมให้มากขึ้นได้ถ้าลูกสัตว์นั้นกินนมได้ดีในครั้งแรกๆ และมีการทำงานของลำไส้ปกติ

เนื่องจากลูกสัตว์กำพร้าจะต้องมีการปรับระบบการย่อยอาหารให้คุ้นกับน้ำนมทดแทน ดังนั้นการให้น้ำนมทดแทนในปริมาณที่น้อยกว่าปริมาณที่ลูกสัตว์ต้องการ จึงเป็นการดีกว่าการให้เกินปริมาณที่ต้องการในช่วงอายุ 2-3 วันแรก

ความถี่ของการให้นม

ควรให้นมแก่ลูกสุนัขและลูกแมววันละ 4 ครั้ง ที่เหมาะสมที่สุดควรห่างกันครั้งละ 6 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ การให้นมเมื่อเวลา 8.00 น. ,11.30 น., 15.30 น. และ 21.00 น. ก็ใช้ได้ผลดีเช่นกัน จะเป็นการดีถ้าให้นมปริมาณน้อยในแต่ละครั้งแต่ให้บ่อยๆ อย่างไรก็ตามพึงระลึกไว้เสมอว่า ลูกสัตว์เกิดใหม่ต้องการนอนเป็นเวลานาน ดังนั้นการปลุกลูกสัตว์ขึ้นมาให้อาหารจะทำให้ลูกสัตว์เครียดเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา และไม่พึงกระทำ และจะต้องเพิ่มนมให้ในกรณีที่ลูกสัตว์ไม่ยอมนอน กระวนกระวายส่งเสียงร้อง
ปริมาณน้ำนมที่เพิ่มให้ควรเป็น 1 มิลลิลิตร ต่อการให้ในแต่ละครั้งโดยเริ่มเพิ่มให้หลังจากให้ครั้งแรกแล้ว 36-48 ชั่วโมง หรืออีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลคือ อาจให้เพิ่มขึ้น 3 มิลลิลิตร (1/2-3/4 ช้อนชา) วันเว้นวัน สำหรับลูกแมวในอัตราเร็วของการเพิ่มควรช้ากว่าลูกสุนัข โดยอาจเพิ่ม 1 มิลลิลิตร ต่อวันหรือ 2 มิลลิลิตรวันเว้นวัน ปริมาณที่เพิ่มให้นี้จะใช้เป็นเกณฑ์ตราบเท่าที่ลูกสัตว์กินนมตามต้องการและอิ่มพอดี ถ้าเพิ่มถึงจุดที่ลูกสัตว์กินนมไม่หมด ควรคงระดับน้ำนมไว้ที่ปริมาณนี้ 1-2 วัน


การที่ลูกสัตว์มีน้ำหนักตัวลดลงในช่วงการให้นมทดแทน 2-3 วันแรก ถือเป็นเรื่องปกติ การเปลี่ยนสูตรส่วนผสมหรือการเพิ่มปริมารณน้ำนมคราวละมากๆ ควรค่อยๆ เปลี่ยนโดยใช้เวลา 3-4 วัน โดยเพิ่มปริมาณน้ำนมขึ้น 25% ทุกๆ วัน

อัตราการเพิ่มน้ำหนัก
อย่างน้อยที่สุดในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของชีวิต ควรมีการชั่งและจดบันทึกน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ในช่วง 5 เดือนแรกลูกสุนัขควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 100-200 กรัมต่อวัน ลูกแมวควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 50-100 กรัมต่อสัปดาห์

1 ความคิดเห็น:

  1. สำหรับการเลี้ยงดูชิสุ พยามอย่าให้อาหารพวกมันมากเกินไปนะครับ เพราะว่าสุนัขพันธุ์นี้อ้วนง่ายๆ

    ตอบลบ